ประวัติสมเด็จอาจ
Get Adobe Flash player

มุมสำหรับครู

ผู้อำนวยการโรงเรียน

เข้าสู่ระบบ

ขณะนี้เวลา

จำนวนผู้เข้าชม

11081628
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวมทั้งสิ้น
142
150
1105
11079555
403
6128
11081628

Your IP: 3.22.100.180
Server Time: 2024-05-03 10:27:30

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุฒาจารย์
(อาจ อาสโภ)
Aad Asabho.jpg
เกิด 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446
อุปสมบท 18 มิถุนายน พ.ศ. 2466
มรณภาพ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532
พรรษา 66
อายุ 86
วัด วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
สังกัด มหานิกาย
วุฒิการศึกษา เปรียญธรรม 8 ประโยค
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์
เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ท่านยังเป็นบุคคลแรกที่นำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ (หรือแบบยุบหนอ-พองหนอ) จากพม่ามาเผยแพร่ในประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

ชาติกำเนิด[แก้]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า คำตา ดวงมาลา เป็นบุตรคนโตของนายพิมพ์ และนางแจ้ ดวงมาลา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 แรม 4 ค่ำเดือน 12 ณ บ้านโต้น ต.บ้านโต้น อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 4 คนท่านเป็นบุตรคนโต น้องอีกสามคนคือ นางบี้ นายเพิ่ม และนางเอื้อ ตามลำดับ[1] เมื่อย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุฯ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจ้าอาวาสขณะนั้น) ได้เปลี่ยนชื่อท่านจาก คำตา เป็น อาจ เพื่อให้เหมาะกับบุคลิก องอาจ แกล้วกล้า ของท่าน[2]

การบรรพชาอุปสมบท[แก้]

เมื่ออายุ 14 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีจันทร์ จ.ขอนแก่น โดยมีอาจารย์พระหน่อ วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านย้ายมาอยู่กรุงเทพฯเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

จนอายุครบ 20 ปี ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ณ พัทธสีมาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณสมโพธิ (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศรีสมโพธิ เป็นพระอนุสาวนาจารย์[1] ได้รับนามฉายาว่า อาสโภ[2]

การศึกษา[แก้]

ท่านได้ศึกษาอักษรลาวตั้งแต่บวชเป็นเณรที่ขอนแก่น

  • พ.ศ. 2461 สอบได้วิชาครู เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขอนแก่นวิทยาคาร (ปัจจุบันคือโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน)
  • พ.ศ. 2464 สอบได้นักธรรมตรี สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
  • พ.ศ. 2465 สอบได้นักธรรมโท
  • พ.ศ. 2466 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
  • พ.ศ. 2467 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
  • พ.ศ. 2468 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
  • พ.ศ. 2469 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
  • พ.ศ. 2471 สอบได้นักธรรมเอก และสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค
  • พ.ศ. 2472 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค

การบริหารงานคณะสงฆ์[แก้]

  • พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นรองเจ้าอาวาสวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ ประจำเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระคณาจารย์โทในทางคันถธุระ
  • พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นเจ้าคณะตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดสุวรรณดาราราม และ เป็นเจ้าคณะแขวงบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นรองเจ้าคณะมณฑลอยุธยา
  • พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นพระคณาจารย์เอกในทางเทศนา และ เป็นสมาชิกสังฆสภา
  • พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค ๔ ซึ่งเป็นพระคณาธิการองค์แรกในตำแหน่งนี้
  • พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา และ เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง และ เป็นเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา
  • พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง และ เป็นอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร และ เป็นทุติยสภานายกสภา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง
  • พ.ศ. ๒๕๒๔ คืนสู่ตำแหน่งอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
  • พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง
  • พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
  • พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก

เกียรติคุณ[แก้]

  • พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นอัคคมหาบัณฑิตโดยรัฐบาลพม่าได้ถวายเกียรติคุณครั้งนี้ในโอกาสที่เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปร่วมงานอัฏฐสังคายนา ที่ประเทศพม่า นับเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้รับฐานันดรศักดิ์นี้
  • พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นผู้ริเริ่มในการสร้างอาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยได้รับเงินจากศาสนสมบัติกลาง เป็นทุนเริ่มแรก และเงินงบประมาณแผ่นดิน กับเงินบริจาคจากสาธุชนทั่วไป
  • พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นผู้ริเริ่มการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับ "มหาจุฬาเตปิฎกํ" เพื่อสนองพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุสามเณรได้เล่าเรียนพระไตรปิฎก
  • พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย
  • พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นสังฆปาโมกข์ ฝ่ายพระอภิธรรมปิฎก ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎกฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2477 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสุธรรมมุนี
  • พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2489 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที
  • พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์
  • พ.ศ. 2492 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัณยบัฏที่ พระพิมลธรรม
  • พ.ศ. 2503 ถูกถอดจากสมณศักดิ์[3]
  • พ.ศ. 2518 ได้รับสมณศักดิ์คืน[3]
  • พ.ศ. 2528 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์

การต้องอธิกรณ์[แก้]

ใน พ.ศ. 2503 เมื่อครั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมนั้น ท่านได้ต้องอธิกรณ์ว่าเสพเมถุนทางเวจมรรคกับลูกศิษย์ จึงถูกถอดสมณศักดิ์และตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ทว่าต่อมาสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นความเท็จ แม้กระนั้นต่อมาใน พ.ศ. 2505 ท่านได้ถูกทางการกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จึงถูกบังคับสึกเป็นฆราวาส และจำคุกอยู่ที่กองบังคับการตำรวจสันติบาลอยู่หลายปี (กล่าวกันว่าสาเหตุที่แท้จริงมาจากเรื่องการเมืองในวงการคณะสงฆ์ไทยในเวลานั้น) กระทั่งได้รับการปล่อยตัวเมื่อศาลทหารสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของท่านได้และตัดสินยกฟ้องเมื่อ พ.ศ. 2509 คดีดังกล่าวนี้นับเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาของไทย ซึ่งสร้างความสะเทือนใจให้แก่ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง[4]

การมรณภาพ[แก้]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) อาพาธด้วยโรคหัวใจล้มเหลว และถึงแก่มรณภาพอย่างสงบเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 สิริอายุได้ 86 ปี 1 เดือน พรรษา 66[2]

วิปัสสนากรรมฐานแบบยุบหนอ-พองหนอ[แก้]

ปี พ.ศ. 2495 พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ได้ส่ง พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) ขณะเป็นพระมหาโชดกไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานสายของมหาสีสย่าด่อที่สำนักศาสนยิสสา ประเทศพม่า เป็นเวลา 1 ปี แล้วนำกลับมาสอน พร้อมทั้งพระพม่าสองรูป คือพระภัททันตะ อาสภเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ และพระอินทวังสเถระ กัมมัฏฐานาจริยะ โดยเปิดสอนครั้งแรกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในปี พ.ศ. 2496 จากนั้นจึงขยายไปเปิดสอนที่สาขาอื่นทั่วราชอาณาจักร มีการตั้งกองการวิปัสสนาธุระที่วัดมหาธาตุฯ ต่อมาถูกยกสถานะเป็นสถาบันวิปัสสนาธุระ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 และได้เผยแพร่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบยุบหนอ-พองหนอจนแพร่หลายดังปัจจุบัน[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 พระโสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต, หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน, จำรูญ ธรรมดา ผู้แปล, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546, หน้า 9 - 21
  2. 2.0 2.1 2.2 กรมศิลปากร, เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, กรุงเทพ : กรมศิลปากร, 2545, หน้า 162 - 6
  3. 3.0 3.1 ลำดับชั้นสมณศักดิ์. วัดปทุมวนาราม จังหวัดร้อยเอ็ด. เรียกข้อมูลวันที่ 24 มิ.ย. พ.ศ. 2553.
  4. พระพิมลฯผจญมารคดีประวัติศาสตร์วงการสงฆ์
ก่อนหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) ถัดไป
- 2leftarrow.png Buddhism dham jak.png
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
2rightarrow.png -
พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร) 2leftarrow.png Dharmacakra flag (Thailand).svg
เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก มหานิกาย
2rightarrow.png สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)